คำพิพากษาฎีกาที่ 1754-1766/2553
นายประชุม ปาละพันธ์ ที่ 1 กับพวกรวม 13 คน โจทก์
นางพรจันทร์ เมฆะวิชัยรัตน์ (พนักงานตรวจแรงงาน) ที่ 1 จำเลย
บริษัทมิตซุย โอ.เอส.เคไลนส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ 2
เรื่อง 1. ค่าเที่ยว เป็นค่าจ้างตาม ม.5 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หรือไม่
2. ค่าเที่ยวที่เป็นค่าตอบแทนสำหรับระยะเวลาทำงานปกติ กับค่าเที่ยวที่ตอบแทนนอกเวลาทำงานปกติ
ต่างกันอย่างไร
3. กรณีนายจ้างจ่ายค่าเที่ยว เพื่อตอบแทนในเวลาทำงานปกติ รวมเป็นค่าจ้างมีอัตราค่าจ้างต่ำกว่า
ค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายเป็นการจงใจไม่จ่ายค่าจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร และต้อง
จ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุกเจ็ดวันไหม
4. วิธีให้เงินต่าง ๆ เพื่อเป็นค่าจ้างควรให้อย่างไร
5. วิธีให้เงินต่าง ๆ เพื่อไม่เป็นค่าจ้างทำอย่างไร
6. หากค่าเที่ยวเป็นค่าจ้าง จะกระทบถึงค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุด, ค่าล่วงเวลาในวันหยุด, ค่ากะ,
ค่าตำแหน่ง, เบี้ยขยัน และโบนัส หรือไม่
1. โจทก์ทั้งสิบสาม ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงาน ว่าโจทก์ทั้งสิบสามเป็นลูกจ้าง ตำแหน่งพนักงานขับรถขนส่งสินค้า ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและค่าเที่ยวซึ่งโจทก์ไม่ต้องการให้นำ ค่าเที่ยวมาคำนวณรวมเป็นค่าจ้าง คำสั่งพนักงานตรวจ วินิจฉัยว่าค่าเที่ยวที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสิบสาม ถือเป็นค่าจ้าง โจทก์ทั้งสิบสาม ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างค้างจ่ายและเงินเพิ่ม
2. ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ว พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่ให้แก่โจทก์ ต้นเงินค่าจ้างค้างจ่ายให้แก่โจทก์แต่ละคนนับแต่วันฟ้อง คำขอค่าเงินเพิ่ม ให้ยกเสีย
โจทก์ทั้งสิบสามอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
3. ศาลฎีกา วินิจฉัยว่า ในการทำงานของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานขับรถขนส่งสินค้า นอกจากได้รับค่าจ้างเป็นเงินเดือนจากจำเลยที่ 2 แล้ว ยังได้รับค่าเที่ยวโดยกำหนดเป็นอัตราแน่นอนตามระยะทาง ค่าเที่ยวจึงเป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเพื่อตอบแทนการปฏิบัติ งานตามปกติของลูกจ้าง อย่างไรก็ดีเงินค่าเที่ยวนี้มีทั้งส่วนที่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ทั้งในเวลาทำงานปกติและนอกเวลาทำงานปกติ ในอัตราส่วนร้อยละ 30 ต่อ 70 ค่าเที่ยวที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าจ้างจึงมีเพียงร้อยละ 30 ของค่าเที่ยวทั้งหมดที่โจทก์ทั้งสิบสามได้รับ ส่วนที่ตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติร้อยละ 70 ไม่เป็นค่าจ้าง
4. มีปัญหาต้องวินิจฉัยของโจทก์ ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มหรือไม่นั้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 คดีนี้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 จัดให้มีประกันรายได้ลูกจ้างไม่ให้ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งหากรวมค่าเที่ยวทั้งหมดกับเงินเดือนแล้วจะไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้น ต่ำ แต่เมื่อแยกค่าเที่ยวเพียงส่วนร้อยละ 30 รวมกับเงินเดือนแล้วจึงทำให้มีค่าจ้างบางส่วนต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 จงใจไม่จ่ายค่าจ้างส่วนที่ต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำให้แก่โจทก์ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มร้อยละ 15 ทุกระยะเวลาเจ็ดวัน
5. พิพากษายืน
รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น (บ.1/31)
Articles
# ลูกจ้างแอบนำข้อมูลทางธุรกิจไปใช้ประโยชน์
# ละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ไม่เป็นการทุจริต / ไม่จงใจทำให้เสียหาย / ไม่ฝ่าฝืนระเบียบที่ร้ายแรง
# ผู้ประกันตนถึงแก่ความตาย บิดาจริงแต่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพ
# นายจ้างอ้างภาวะขาดทุนเหตุเลิกจ้าง
# นายจ้างโยกย้ายลูกจ้างไปทำงานบริษัทในเครือ
# ค่าเที่ยวเป็นค่าตอบแทนหรือไม่
# องค์ประกอบของค่าจ้าง
# เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง
# เงินตามพระราชบัญญัติ
ดูทั้งหมด
www.paiboonniti.com