คำพิพากษาฎีกาที่ 4754/2556
นายสมพร วรรณศรี โจทก์
บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด จำเลย
เรื่อง กรณีที่โจทก์นำส่งเงินให้จำเลยล่าช้าและทำรายงานเท็จเสนอต่อจำเลยว่าคู่กรณีให้ผัดผ่อนเลื่อนการชำระเงินนั้น เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมอันเป็นกรณีร้ายแรง เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหาย และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
คำพิพากษาฎีกาที่ 4754/2556
นายสมพร วรรณศรี โจทก์
บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด จำเลย
เรื่อง กรณีที่โจทก์นำส่งเงินให้จำเลยล่าช้า และทำรายงานเท็จเสนอต่อจำเลยว่าคู่กรณีให้ผัดผ่อน เลื่อนการชำระเงินนั้น เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมอันเป็นกรณีร้ายแรง เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหาย และเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
1. โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุ 3 ประจำศูนย์ปฏิบัติการสินไหมทดแทน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2549 จำเลยมี หนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โดยนำเงินค่าสินไหมทดแทนของจำเลยไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว ซึ่ง ไม่เป็นความจริง จำเลยเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม และมิได้บอก กล่าวล่วงหน้า ขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย 160,000 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วหน้า 32,200 บาท เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพส่วนของจำเลย 160,000 บาท ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 4,250,400 บาท เบี้ยเลี้ยง 1,188,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
2. จำเลยให้การว่า เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2549 โจทก์รับเงินจากคู่กรณีที่ชดใช้ค่าเสียหาย 40,000 บาท แต่ไม่นำส่งจำเลยภายใน 24 ชั่วโมง ตามหลักเกณฑ์ของจำเลย ที่ได้มีการประชุมกันเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2549 ทั้งโจทก์รายงานเท็จว่าคู่กรณีขอเลื่อนนัดการจ่ายเงิน ต่อมาวันที่ 28 เมษายน 2549 โจทก์รับเงินที่คู่กรณี 2 ราย ชดใช้ค่า เสียหาย แต่มิได้นำส่งเงินภายใน 24 ชั่วโมง โจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกร้องค่าเสียหาย ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย โดยทุจริตต่อหน้าที่และกระทำความผิดอาญา โดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความ เสียหาย อีกทั้งการกระทำของโจทก์ยังเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) (2) และ (4) โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพส่วนของจำเลย เพราะโจทก์กระทำขัดต่อข้อบังคับ ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำเลยไล่โจทก์ออกชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้อง ไม่ใช่ค่าเสียหายที่เกิดจากข้อพิพาทแรงงานแต่เป็นค่าเสียหายจากมูลละเมิด ขอให้ยกฟ้อง
3. ศาลแรงงานภาค 8 พิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง
4. ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลย เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2549 คู่กรณีชำระค่าสินไหมให้แก่จำเลยผ่านโจทก์ 40,000 บาท แต่โจทก์ไม่นำส่ง เงินดังกล่าวให้แก่จำเลยในวันเดียวกันโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ทั้งโจทก์ยังทำรายงานว่าคู่กรณีขอเลื่อนชดใช้ค่าสินไหมไปในวันที่ 1 พฤษภาคม 2549 และต่อมาได้ทำ รายงานว่าคู่กรณีขอเลื่อนการชดใช้ค่าสินไหมไปในวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 และสุดท้ายโจทก์นำเงิน 40,000 บาท มาชำระแก่จำเลยในวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 และเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2549 โจทก์ได้รับค่าสินไหมของรถคู่กรณีกับรถที่จำเลยเอาประกันภัยไว้รวม 2 ราย รายแรก 10,000 บาท แต่โจทก์กลับนำส่งเงินให้จำเลยเมื่อ วันที่ 11 พฤษภาคม 2549 และ รายที่สองคู่กรณีชดใช้ค่าสินไหม 10,000 บาท แต่โจทก์กลับนำเงินส่งแก่จำเลยในวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 ทั้งที่ในเดือนมกราคม 2549 จำเลยได้เรียกประชุมประจำเดือนของพนักงานซึ่งที่ประชุมมีมติให้พนักงานทุกคน ต้องนำเงินที่รับจากคู่กรณีส่งจำเลยในวันเดียวกัน โจทก์เข้าร่วมประชุมและลงชื่อรับ ทราบมติที่ประชุมดังกล่าวแล้ว และวินิจฉัยว่า โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรง เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ทั้งโจทก์กระทำการดังกล่าวใน ทำนองเดียวกันหลายครั้งติดต่อกัน จึงมีเหตุผลเพียงพอที่จำเลยจะเกิดความไม่ไว้วางใจโจทก์ ที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุทุจริตต่อหน้าที่จึงมีเหตุผล เพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและค่าเสียหาย
5.พิพากษายืน
รวบรวมโดยนายไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น
www.paiboonniti.com